เมนู

กถาพรรณนาตัณหาวาระ


ตัณหา 108


[121] พึงทราบวินิจฉัยในตัณหาวาระ (ต่อไป) :-
ตัณหาที่เป็นไปแล้วโดยชวนวิถี มีชื่อตามอารมณ์ที่คล้ายกับบิดา
(ผู้ให้เกิด) ว่า รูปตัณหา ฯลฯ ธรรมตัณหา เหมือนกับ (คน)
มีชื่อตามบิดาในคำทั้งหลาย มีอาทิว่า เศรษฐีบุตร พราหมณบุตร เป็นต้น .
ก็ในตัณหาวาระนี้ ตัณหามี 3 ประการอย่างนี้ คือตัณหาที่มีรูป
เป็นอารมณ์คือตัณหาในรูป เพราะฉะนั้น จึงชื่อว่ารูปตัณหา รูปตัณหานั้น
เมื่อยินดี เป็นไปโดยความเป็นกามราคะ ชื่อว่า กามตัณหา.
เมื่อยินดี (รูป) เป็นไปอย่างนี้ว่า รูปเที่ยง คือยั่งยืนได้แก่ติดต่อ
กันไป โดยความเป็นราคะที่เกิดร่วมกับสัสสตทิฏฐิ ชื่อว่า ภวตัณหา.
เมื่อยินดี (รูป) เป็นไปอย่างนี้ว่า รูปขาดสูญ คือหายไป ได้แก่
ละโลกนี้ไปแล้ว จักไม่มี โดยความเป็นราคะเกิดร่วมกับอุจเฉททิฏฐิ
ชื่อว่า วิภวตัณหา.
และสัททตัณหาเป็นต้น ก็เหมือนกับรูปตัณหา ฉะนั้น จึงรวมเป็น
ตัณหาวิปริต 18 ประการ. ตัณหาวิปริตเหล่านั้น แจกออกเป็น 18
ในอายตนะทั้งหลายมีรูปภายในเป็นต้น (และ) แจกออกเป็น 18 ใน
อายตนะทั้งหลายมีรูปภายนอกเป็นต้น จึงรวมเป็น 36 ประการ. แจก
เป็นอดีต 36 เป็นอนาคต 36 เป็นปัจจุบัน 36 ด้วยประการอย่างนี้
จึงเป็นตัณหาวิปริต 108 ประการ.
อีกอย่างหนึ่ง ตัณหาวิปริต 18 ประการ อาศัยรูปที่เป็นไปภายใน

เป็นต้น มีอาทิอย่างนี้ว่า เพราะอาศัยรูปเป็นภายใน มีตัณหาว่าเรามี
เพราะรูปนี้ (และ) ว่า เมื่อเรามี เราก็เป็นที่ปรารถนา ฉะนั้น จึง
รวมเป็นตัณหา 36 แบ่งเป็นอดีต 36 อนาคต 36 ปัจจุบัน 36
โดยประการอย่างนี้ รวมเป็นตัณหาวิปริต 108 ดังที่พรรณนามานี้แล.
เมื่อทำการสงเคราะห์เข้ากันอีก ตัณหาก็มี 6 หมวดเท่านั้น ใน
อารมณ์ทั้งหลายมีรูปเป็นต้น ด้วยอรรถที่ท่านแสดงไว้อย่างนี้ว่า ตัณหา
มี 3 อย่างเท่านั้น มีกามตัณหาเป็นต้น นักปราชญ์พึงทราบ ตัณหา
โดยการสงเคราะห์ข้อความที่พิสดารเข้าด้วยกันอีก จากข้อความพิสดาร
ทีแสดงไว้แล้ว ดังนี้.
ก็เวทนาที่เป็นวิบากพระเถระประสงค์เอาแล้วว่า เวทนา ในคำว่า
เวทนาสมุทยา นี้.
ถ้าจะมีคำถามว่า เวทนานั้นเป็นปัจจัยแห่งตัณหาในทวาร 6
อย่างไร ?
ตอบว่า เป็นปัจจัยเพราะเวทนาเป็นสิ่งที่น่ายินดี. อธิบายว่า เมื่อ
สัตว์ทั้งหลายยึดมั่นเวทนาว่าเป็นของเราอยู่. ด้วยความชอบใจสุขเวทนา
เขาจะเป็นผู้ยังความทะยานอยากเวทนาให้เกิดขึ้นแล้ว ยินดีแล้วด้วยความ
กำหนัดยินดีเวทนา ปรารถนารูปที่ได้เห็นแล้วนั่นแหละ และครั้นได้
รูปนั้นแล้ว ก็ชอบใจทั้งทำสักการะแก่ช่างเขียนเป็นต้น ผู้ให้อารมณ์.
ในโสตทวารเป็นต้น ก็เหมือนกัน สัตว์ทั้งหลายย่อมปรารถนา
เสียงเป็นต้น ซึ่งเป็นที่น่าปรารถนาทีเดียว และครั้นได้แล้ว ก็ชอบใจ
เสียงเป็นต้นเหล่านั้น ทั้งทำการสักการะ นักดีดพิณ ช่างปรุงน้ำหอม
ช่างทอ และผู้แสดงศิลปนานาชนิดเป็นต้น.

เหมือนอะไร ?
เหมือนแม่ผู้รักลูก ทำสักการะแม่นมคือให้เขาดื่มและบริโภคเนยใส
และนมที่อร่อยเป็นต้น. เพราะความเสน่หาในลูก. ถ้อยคำที่เหลือมีนัย
ดังที่กล่าวแล้วนั่น แหละ.
จบ กถาพรรณนาตัณหาวาระ

กถาพรรณนาเวทนาวาระ


[122] พึงทราบวินิจฉัยในเวทนาวาระ (ต่อไป) :-
หมวดเวทนาชื่อว่า เวทนากายะ.
คำว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เวทนา ฯลฯ มโนสมฺผสฺสชา เวทนา
นี้เป็นชื่อของเวทนาทั้งที่เป็นกุศลทั้งที่เป็นอกุศล และอัพยากฤตที่เป็นไป
แล้วในจักษุทวารเป็นต้น ตามวัตถุ (ที่ตั้ง) ที่คล้ายแม่ เหมือนกับชื่อ
(ของลูก ) ตามแม่ในคำทั้งหลายมีอาทิอย่างนี้ว่า สารีบุตร ( ลูกนางสารี)
มันตานีบุตร (ลูกนางมันตานี) เพราะมาแล้วในคัมภีร์วิภังค์อย่างนี้ว่า
เวทนาที่เกิดจากจักขุสัมผัสที่เป็นกุศลก็มี ที่เป็นอกุศลก็มี ที่เป็นอัพยา-
กฤตก็มี ในคำมีอาทิว่า จกฺขุสมฺผสฺสชา เวทนา นี้ มีอรรถพจน์ว่า
เวทนาที่เกิดขึ้น เพราะจักขุสัมผัสเป็นเหตุ ชื่อว่า จักขุสัมผัสสชาเวทนา.
ในทุกทวารมีโสตะเป็นต้น ก็ทำนองนี้. นี้เป็นกถาที่ว่าด้วยการสงเคราะห์
เข้ากันทุกอย่าง ในเวทนาวาระนี้ก่อน.
แต่ว่า เวทนาพึงทราบโดยเวทนาที่สัมปยุตด้วยธรรมเหล่านั้น คือ
ในจักขุทวารโดยวิบาก มีจักขุวิญญาณ 2 ดวง มโนธาตุ 2 ดวง มโน-